ชำแหละลัทธิขงจื๊อ ค่านิยมชายเป็นใหญ่ในเกาหลีใต้ และผู้หญิงไม่ได้ใช้ชีวิตสวย ๆ ง่าย ๆ สบาย ๆ รอเจ้าชายเหมือนในซีรีส์

“เพราะเป็นผู้หญิงใช่ไหมถึงได้ถูกเอาเปรียบในที่ทำงาน” “ถ้าอยากเป็นผู้หญิงที่ได้รับการเคารพนับถือ ได้รับโอกาสที่ดีในชีวิตก็ต้องสวยเท่านั้น” “แค่เป็นเพศหญิงก็เท่ากับว่าชีวิตต้องยากลำบากกว่าเพศชายในระดับเท่าตัว”

แม้ว่าเกาหลีใต้จะมี soft power ที่เข้มแข็งเฟื่องฟูจากอุตสหกรรมบันเทิงมากแค่ไหน เป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากเพียงใด แต่ถ้าว่าเบื้องหน้าที่สวยงามก็ยังมีเบื้องหลังที่ดํามืดซ่อนอยู่โดยเฉพาะเรื่องของแรงกดดัน และความไม่เท่าเทียมทางเพศ

นอกจากสังคมเกาหลีใต้จะเต็มไปด้วยความคาดหวัง และแรงกดดันสูงเสียดฟ้า ก็ขึ้นชื่อในเรื่องของแรงกดดันที่ทุกคนต้องทําตาม มีความคาดหวังต่อตัวบุคคลในระดับที่สูงมาก ทุกคนในทุก ๆ ช่วงวัยมักจะถูกคาดหวังว่าต้องดีเลิศ และต้องประสบความสําเร็จมากกว่าใคร ๆ

ค่านิยมเด็กนักเรียนต้องเรียนพิเศษถึงห้าทุ่มเที่ยงคืนเพื่อให้ตัวเองนั้นเก่งกว่าคนอื่นและเป็นไปตามที่พ่อแม่คาดหวัง / พนักงานบริษัทต้องทํางานได้อย่างสมบูรณ์แบบไร้ข้อผิดพลาด หรือแม้แต่ศิลปินดาราก็มีความคาดหวังจากสังคม ค่ายสังกัด และแฟนๆ สูงมากเช่นเดียวกัน และถ้าหากว่าใครทําได้ไม่ดีพอ หรือว่าทําอะไรผิดพลาดมักจะถูกสังคมต่อต้านอย่างหนักจึงทําให้มีแรงกดดันไปทั่วทุกหย่อมหญ้า และก่อตัวเป็นปัญหาสุขภาพจิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไล่ตั้งแต่ความเครียด ความวิตกกังวล ไปจนถึงการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าส่วนหนึ่งของสาเหตุการฆ่าตัวตาย

อีกหนึ่งปัญหาคือปัญหาความเท่าเทียมทางเพศโดยในภาพรวมนั้น เกาหลีใต้คือสังคมที่ผู้ชายเป็นใหญ่ ในขณะที่ผู้หญิงจะได้รับโอกาสต่างๆ น้อยกว่าผู้ชายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการงาน ที่ผู้หญิงมักจะได้ตําแหน่งที่ต่ำกว่าความสามารถจริง ผู้หญิงจึงจำเป็นต้องพิสูจน์ความสามารถของตัวเองโดยไม่ถูกตั้งคำถามจากสังคมอยู่เสมอ

อีกทั้งยังมีปัญหาของการเลือกปฏิบัติ การได้รับค่าจ้างที่น้อยกว่า ความก้าวหน้าในอาชีพการงานน้อยกว่า และที่สําคัญในสังคมเกาหลีใต้ยังมีปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศอย่างรุนแรง อย่างเช่นในปี 2018 ก็ได้เกิดกระแส “Me too” ขึ้นมามันคือกระแสที่เกิดจากผู้หญิงชาวเกาหลีใต้จำนวนมากออกมาบอกเล่าประสบการณ์เลวร้ายที่พวกเธอเคยเจอ เพื่อให้สังคมรับรู้ถึงปัญหาและเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงอีกทั้งในส่วนของประชากรที่เป็น LGBTQ+ ก็ยังได้รับการปฏิบัติที่ไม่เท่าเทียมนี้เช่นกัน

 “ถ้าอยากเป็นผู้หญิงที่ได้รับการเคารพนับถือ ได้รับโอกาสที่ดีต้องสวยเท่านั้น”

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าศัลยกรรมความงามของเกาหลีใต้ในปัจจุบันนี้นับว่าเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในระดับนานาชาติ ถ้าว่าที่เกาหลีใต้นั้นมีอัตราการศัลยกรรมความงามที่สูงระดับต้นต้นของโลก โดยหนึ่งในสามของผู้หญิงเกาหลีใต้ที่มีอายุระหว่าง 19-29 ปีจะผ่านการศัลยกรรมความงามมาแล้วอย่างน้อยหนึ่งครั้ง ซึ่งถ้าหากมองเผินเผินแล้วดูเหมือนเป็นเรื่องธรรมดาและไม่น่ามีอะไร

แต่เพราะในสังคมเกาหลีใต้มีสิ่งที่เรียกว่ามาตรฐานความงามอยู่ มันคือมาตรฐานความงาม Beauty Standard ที่ชาวเกาหลีใต้ให้การยอมรับ และมองว่านี่แหละคือความสวยงาม เช่นผู้หญิงต้องมีรูปร่างผอมสูง มีใบหน้าเรียวเป็นรูปตัววี มีปากเรียวเล็ก ตากลมโต และมีผิวขาวเรียบเนียนเป็นต้น ซึ่งอิทธิพลความงามเหล่านี้ก็มีผลอย่างมากต่อผู้คนในสังคม
และหลายหลายคนเชื่อว่า “ถ้าหากว่าพวกเธอหน้าตาดีและเป็นไปตามมาตรฐาน มันจะทําให้พวกเธอได้รับการปฏิบัติที่ดีกว่าคนที่มีหน้าตาธรรมดาทั่วไป และจะมีโอกาสดีๆ เข้ามาในชีวิต ทั้งเรื่องส่วนตัวและเรื่องการงาน หรือแม้แต่ในสถาบันครอบครัวมากกว่าด้วย” ซึ่งกล่าวกันตามค่านิยมว่าพ่อแม่ชาวเกาหลีใต้ต้องเก็บเงินก้อนใหญ่สองก้อน โดยก้อนแรกนั้นมีเอาไว้ส่งลูกเรียนหนังสือ ส่วนก้อนที่สองก็มีเอาไว้มอบให้ลูกเป็นของขวัญเผื่อเอาไปใช้ในการศัลยกรรมความงาม

“แค่เป็นหญิงก็เท่ากับว่าต้องยากลำบากกว่าเพศชายในระดับเท่าตัว”

จากข้อมูลในบทความวิจัยเรื่อง “ภาพลักษณ์ของผู้หญิงเกาหลีใต้ช่วง ค.ศ. 2000-2021 ผ่านวรรณกรรมของโชนัมจู” ระบุข้อมูลทางประวัติศาสตร์ไว้ว่าความคาดหวังต่อผู้หญิงเกาหลีใต้มีรากฐานมาจากยุคสมัยโชซอน ซึ่งเป็นราชวงศ์ที่ปกครองเกาหลีมายาวนานกว่า 500 ปี ทำให้ชาวเกาหลีใต้มีแนวคิดและประเพณีในปัจจุบันที่ได้รับมาจากลัทธิขงจื้อมากกว่าแนวทางคำสอนของศาสนาอื่นๆ มาใช้เป็นปรัชญาการเมืองในการปกครองประเทศ ส่งผลให้ชาวเกาหลีใต้ซึมซับและนำมาใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันอย่างไม่รู้ตัว ลัทธิคำสอนขงจื้อมีครอบครัวเป็นศูนย์กลาง และเคร่งในกฎระเบียบ 3 จริยธรรม 5 ซึ่งคือกฎพื้นฐานเกี่ยวกับระเบียบที่ต้องปฏิบัติ 3 ประการ คือ “ข้าราช บริพารต้องภักดีต่อกษัตริย์” “บุตรชายพึงต้องเลี้ยงดูบิดา” และ “ภรรยาพึงต้องดูแลสามี”

และข้อปฏิบัติทาง จริยธรรม 5 ประการ คือ “ความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์และข้าราชบริพารต้องมีความชอบธรรม” “บิดาและ บุตรชายพึงต้องมีความใกล้ชิดสนิทสนม” “สามีและภรรยาต้องมีการแบ่งแยก” “ผู้ใหญ่และผู้น้อยพึงต้องมีลำดับ” และ “สหายพึงต้องมีความเชื่อใจ” – (พรรนิภา ซอง, 2560)

เห็นได้ว่าคำสอนของลัทธิขงจื้อวางอยู่บนรากฐานของความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่มีนัยของความไม่เท่าเทียม ทั้งในมิติของสถานภาพ เพศ และอายุ เมื่อผู้หญิงอยู่ในครอบครัวที่มีบุตรชาย ผู้หญิงจะถูกลดทอนคุณค่าโดยจะไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากบิดามารดาเท่ากับบุตรชาย และต้องทำงานบ้านและดูแลคนในบ้านอย่างดี ต้องรู้จักการวางตัวให้เหมาะสมต่อการเป็นกุลสตรี และเมื่อแต่งงาน ไปแล้วผู้หญิงจะถูกคาดหวังให้ต้องเป็นคนที่ทำงานบ้านเก่ง รู้จักปรนนิบัติสามีและดูแลแม่ของสามีเป็นอย่างดี หากให้กำเนิดบุตรก็ต้องดูแลบุตรของตนให้เป็นประชากรที่มีคุณภาพให้ได้

นอกจากนี้ผู้หญิงยังถูกคาดหวังต้องให้กำเนิดบุตรชายเพื่อสืบทอดตระกูลทางฝ่ายสามี ผู้หญิงจึงถูกสอนให้รู้จักการนับประจำเดือนเพื่อคำนวณความเป็นไปได้ของการให้กำเนิดบุตรชายอีกด้วย ถึงแม้ในปัจจุบันเกาหลีใต้จะเป็นประเทศที่มีความโดดเด่นในการพัฒนา ทางด้านเศรษฐกิจ แต่ผู้หญิงก็ยังคงถูกคาดหวังให้ทำหน้าที่หลักในการดูแลครอบครัวหลังจากที่แต่งงานและมีบุตร เช่นเดียวกับในอดีตไม่แตกต่างกัน

ในด้านเศรษฐกิจหลังจากที่สงครามเกาหลีสิ้นสุดลงในปี 1995 รัฐบาลเกาหลีใต้มีนโยบายในการมุ่งพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ส่งผลให้ตั้งแต่ปี 1960 เป็นต้นมา ประชากรในประเทศทั้งเพศหญิงและเพศชายมี อัตราการเข้าร่วมทางด้านเศรษฐกิจมากกว่าในอดีตหลายเท่าตัว และเมื่อเทียบกับช่วงปี 1970 – 2011 อัตราการเข้าร่วมทางด้านเศรษฐกิจของเพศชายลดลง ในทางกลับกันอัตราการเข้าร่วมทางด้านเศรษฐกิจของเพศหญิงในฐานะแรงงานกลับ 12 เพิ่มขึ้น สะท้อนให้เห็นว่าอัตราการเข้าร่วมทางด้านเศรษฐกิจของเพศหญิงเพิ่มขึ้นและอัตราความแตกต่างของการเข้าร่วมทางด้านเศรษฐกิจระหว่างเพศลดลง

“อัตราการฆ่าตัวตายของผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย”

เกาหลีใต้เป็นประเทศที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงมากเป็นอันดับต้นต้นของโลก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเกิดจากแรงกดดันที่ต้องทําตาม ในฐานะของเพศหญิงที่ยังคงต้องเผชิญหน้ากับความยากลำบากในการทำงานไปพร้อมกับการทำงานบ้านรวมถึงการดูแลปรนนิบัตรพัดวีคนในครอบครัวให้ไม่ขาดตกบกพร่อง ซึ่งต้องยอมรับว่าเป็นอิทธิพลมาจากแนวคิดของขงจื้อที่ตีกรอบและลดทอนคุณค่าความสามารถของผู้หญิงให้ด้อยค่ากว่าผู้ชายเสมอผสมผสานเข้ากับปัจจัยภายนอกอย่างอื่นไม่ว่าจะเป็นความยากลําบากในการหาเงิน / ความโดดเดี่ยวจากการถูกบูลลี่ในสังคม / การถูกเอารัดเอาเปรียบในอาชีพการงาน / การถูกละเมิดทางเพศ และปัญหาสุขภาพเป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เมื่อมันถ่าโถมเข้ามาในคนคนเดียวจึงทําให้หลายคนตัดสินใจจบชีวิตตัวเอง

 

รู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับโพสต์นี้?

Loading spinner
Related Stories

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง