สถิติพบว่าใน 1 ปี ผู้หญิงไทย ตรวจพบมะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer) จำนวน 12,956 ราย

จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข (Health Data Center) ปี 2565 พบว่า ผู้หญิงไทย ตรวจพบมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 11.1 หรือจำนวน 12,956 ราย

พบผู้หญิงที่เสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูก เนื่องจากเข้ารับการรักษาช้าถึง 10 ราย และช่วงอายุของการเสียชีวิต อยู่ในวัยระหว่าง 40-50 ปี ข้อมูลการเกิดมะเร็งปากมดลูก ในปี ค.ศ 2020 จะอยู่ที่ประมาณ 4.8 เปอร์เซ็นต์ ของมะเร็งทั้งหมด โดยพบประมาณ 9,000 กว่ารายต่อปี อัตราการเสียชีวิตมะเร็งปากมดลูก ประมาณ 7.3% ต่อประชากร 1 แสนคน

สาเหตุการเกิดมะเร็งปากมดลูก

พบว่าสาเหตุของการเกิดมะเร็งปากมดลูก 99.7% เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Human Papillomavirus (HPV) ชนิดความเสี่ยงสูงแบบไม่ยอมหายขาด ชนิดของ HPV แบ่งเป็น 2 กลุ่มดังนี้

  1. ชนิดความเสี่ยงต่ำ (ความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปากมดลูก) ทำให้เกิดโรคได้ในลักษณะ หูดต่างๆที่เกิดบริเวณปากมดลูก เช่น หูดหงอนไก่ที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างหนึ่ง
  2. ชนิดความเสี่ยงสูง (ความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปากมดลูก) เมื่อติดเชื้อแล้วถ้าไม่ยอมหายไป จะทำให้เกิดเป็นมะเร็งปากมดลูก โดยปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อแล้ว ดังนั้นหากได้รับการฉีดวัคซีน จะสามารถป้องกันจากการเป็นโรคหูดต่าง ๆ ที่เกิดบริเวณปากมดลูก และอวัยวะสืบพันธุ์สตรีอื่นๆ ได้อีกด้วย

เชื้อ HPV ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้อย่างไร

การมีเพศสัมพันธ์ มักจะเกิดรอยถลอก บริเวณปากมดลูก ทำให้เชื้อ HPV ที่จะอยู่บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ของทั้งผู้ชายและผู้หญิง จะเข้าในบริเวณรอยถลอกนั้น ๆ และแทรกซึมไปยังบริเวณเซลล์ปากมดลูกชั้นล่างๆ ซึ่งตัวเชื้อ HPV ชนิดความเสี่ยงสูงจะเข้าไปผสมผสานกับ DNA ของเซลล์ปากมดลูก ทำให้เกิดการแบ่งตัวที่ผิดปกติ และตัวเชื้อ HPV เองจะมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวน ทำให้กระจายอยู่บริเวณปากมดลูก เมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งต่อไป ฝ่ายชายจะติดและแพร่เชื้ออีกได้

ปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เป็นมะเร็งปากมดลูก

  • การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย
  • การมีเพศสัมพันธ์กับหลายคน
  • การได้รับยากดภูมิคุ้มกัน (เปลี่ยนไต)
  • การติดเชื้อ ไวรัสเอดส์
  • การสูบบุหรี่ (หากเลิกได้ ลดความเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งปากมดลูกลงถึง 2 เท่า)

อาการแสดง

  • ในระยะแรกจะไม่มีอาการ
  • มีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์
  • มีเลือดออกผิดปกติ
  • มีตกขาวผิดปกติ
  • ขาบวม ปวดเอว ปวดร้าวลงขา
  • ไตวาย
  • ปัสสาวะ อุจจาระ รั่วมาที่ช่องคลอด

แนวทางการตรวจภายในของราชวิทยาลัยสูติฯ (ปี ค.ศ. 2021)

  • เริ่มตรวจเมื่ออายุ 25 ปี หากมีเพศสัมพันธ์แล้ว แต่หากไม่เคยมีเพศสัมพันธ์เริ่มตรวจเมื่ออายุ 30 ปี
  • หากตรวจ แปปสเมียร์ (Pap smear) ให้ตรวจห่างทุก 2 ปี หากตรวจ HPV test หรือตรวจ Co-test (ตรวจทั้ง HPV test และ ตรวจดูเซลล์) ให้ห่างทุก 5 ปี ถ้าผลปกติ
  • สามารถสิ้นสุดการตรวจ เมื่ออายุ 65 ปี ถ้าตรวจสม่ำเสมอมาตลอด 10 ปี แล้วปกติมาตลอด

*ข้อมูลจากนายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย และคณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 

 

รู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับโพสต์นี้?

Loading spinner
Related Stories

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง