วันสิทธิส่วนบุคคลสากล (Individual Right Day)

“สิทธิส่วนบุคคล” คำนี้หลายคนอาจจะเข้าใจผิดว่าทุกคนสามารถทำอะไรก็ได้อย่างอิสระเสรีตามใจชอบ แต่ก็เลยเส้นขอบไปสู่การละเมิดสิทธิของผู้อื่นกลายเป็นการกระทำผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

บ่อยครั้งเราเห็นการละเมิดสิทธิของผู้อื่นในโลกออนไลน์ การรบกวน คุกคามผู้อื่น อันมีสาเหตุมาจากรสนิยมทางเพศ (sexual orientation) ถูกโจมตีเพียงเพราะเหตุแห่งเพศ การตัดสินจากคนที่พวกเขารัก วิธีการที่พวกเขาแต่งตัว หรือแม้แต่การแสดงออกตัวตนของพวกเขา

ในทางกฎหมาย “สิทธิส่วนบุคคล” (Right to Privacy) หมายถึง สิทธิที่จะอยู่โดยลำพัง หรือสิทธิที่จะได้อยู่โดยลำพังโดยปราศจากการรบกวน (The Right to Be Left Alone) ซึ่งกฎหมายที่บัญญัติถึงการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลของไทยคือกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 32 ดังนี้

“บุคคลย่อมมีสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และครอบครัว การกระทําอันเป็นการละเมิดหรือกระทบต่อสิทธิของบุคคลตามวรรคหนึ่ง หรือการนําข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ประโยชน์ไม่ว่าในทางใดๆ จะกระทํามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพียงเท่าที่จําเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ”

แน่นนอนว่าในฐานะมนุษย์ ไม่ว่าจะนิยามตนเองว่าเป็นเพศอะไร ทุกคนควรเคารพในสิทธิส่วนบุคคลของบุคคลอื่น เพื่อยับยั้งการกระทำที่คุกคามหรือละเมิดความเป็นส่วนตัวของบุคคล

ที่มาของวันนี้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ จอห์น ล็อก (John Locke) นักปรัชญาชาวอังกฤษ หนึ่งในผู้ก่อตั้งปรัชญาสำนักประสบการณ์นิยม (Empiricism) เนื่องในวันคล้ายวันเกิดของเขา คือวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 1632 เพื่อกระตุ้นให้ทุกคนนึกถึงมุมมองของล็อกที่ปรารถนาให้แต่ละประเทศได้ตระหนักถึงคุณค่าของเสรีภาพ และธรรมชาติอันศักดิ์สิทธิ์ของสิทธิส่วนบุคคล

 

รู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับโพสต์นี้?

Loading spinner

แชร์บทความนี้

Tag

Related Stories

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง