จุดเริ่มต้นการขับเคลื่อนของ Non-binary ในประเทศไทย

การขับเคลื่อนของ Non-binary ในประเทศไทย เป็นกระบวนการที่มีมาต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2017 และยังคงดำเนินอยู่ในปัจจุบัน แม้ว่าในขณะนี้กฎหมายแก้ไขคำนำหน้าตามเจตจำนง (Self-determination) ยังไม่มีผลบังคับใช้ แต่ก็แสดงให้เห็นถึงพลังจากความมุ่งมั่นตั้งใจของผู้คนในชุมชนเล็กๆ ที่ได้ร่วมกันผลักดันส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศและความหลากหลายนี้ และเป็นความหวัง-กำลังใจให้พวกเรารอติดตามความคืบหน้าการพิจารณาร่างกฎหมายของรัฐสภากันต่อไป

ผู้สนใจสามารถเข้าดูร่างพระราชบัญญัติการรับรองเพศ คำนำหน้านาม และการคุ้มครองบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ ได้ที่  https://www.parliament.go.th/section77/manage/files/file_20230911125054_1_292.pdf

การรวมกลุ่มในพื้นที่สาธารณะ

  • เริ่มต้นขึ้นในปี 2017 มีการรวมตัวของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ นอกจากกลุ่ม Transmasculine, Intersex Thailand, และ Pattaya Pride International มีการจัดตั้ง “Non-Binary Thailand” ได้ร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ เช่น SAGA Thailand ในการจัดกิจกรรมและรณรงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและยอมรับต่อเพศที่หลากหลาย
  • ปัจจุบันมีการก่อตั้งกลุ่ม สัปภาคีนอนไบนารีเพื่อรับรองสำนึกทางเพศ (HCNL) ขึ้น

โดยกลุ่มชุมชน 4Queens / กลุ่ม Non-Binary Thailand / กลุ่ม Intersex Thailand / กลุ่มเครือข่ายนวัตกรรมเพื่อเยาวชนไทย (CITY) / กลุ่ม Sapphic Union / กลุ่ม SAGA Thailand / กลุ่ม AroAce-clusionist : Aromantic & Asexual Exist เพื่อยืนยัน และส่งเสียงสนับสนุนว่า 

ในกฎหมายจำเป็นต้องมีพื้นที่ของคน ที่ไม่เลือกจะเป็น ผู้ชายหรือผู้หญิง มีตรงกลาง หรืออย่างอื่นนอกไปจากชายหรือหญิง

การผลักดันการยอมรับทางกฎหมาย

  • กลุ่ม Non-Binary Thailand ได้ร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ ในการผลักดันให้มีการรับรองทางกฎหมายสำหรับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยเฉพาะการเพิ่มตัวเลือก “เพศอื่นๆ” 

ในบัตรประชาชน

การสร้างความตระหนักและความเข้าใจในสังคม

  • มีการจัดกิจกรรมและเผยแพร่ข้อมูลเพื่อสร้างความตระหนักและความเข้าใจเกี่ยวกับ Non-binary  ในสังคมไทย เช่นการจัดงาน Taipride หรือ ไทpride ปี 2019 เป็นการฉลองความหลากหลายของวัฒนธรรมไทยและตัวตนของผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย โดยเป็นพื้นที่สำหรับองค์กรภาคประชาชนขนาดเล็กและกลุ่มชายขอบในประเทศไทยให้สามารถเปล่งเสียงของพวก ค้นหาพลัง และความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ของพวกเขา แม้จะต้องเผชิญกับการเลือกปฏิบัติ การกดขี่ และการคุกคาม 

ประเด็นที่กลุ่ม Non-Binary ต้องการผลักดัน

  • เรียกร้องกฎหมายที่รับรองสถานะและคุ้มครองสิทธิของบุคคลข้ามเพศและกลุ่ม non-binary

สืบเนื่องจากปี 2021 ศาลรัฐธรรมนูญของไทยมีคำตัดสินว่า การจำกัดการแต่งงานให้เฉพาะระหว่างเพศชายและหญิงตามมาตรา 1448 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้นขัดรัฐธรรมนูญ

  • เรียกร้องกฏหมายระบุเพศ Non-Binaryและแก้ไขคำนำหน้าตามเจตจำนง (Self-determination) ให้เป็นสิ่งที่สมควรทำได้
  • เสนอร่างพระราชบัญญัติการรับรองเพศ 

ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อรับรองและคุ้มครองสิทธิของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ
โดยร่างกฎหมายนี้ให้คำนิยามชัดเจนเกี่ยวกับ “อัตลักษณ์ทางเพศ” “ลักษณะทางเพศ” “บุคคลทางเพศที่สาม” และ “บุคคลที่ไม่ได้นิยามตนเองในระบบเพศทวิ” เพื่อกำหนดขอบเขตการคุ้มครอง ร่างกฎหมายยังกำหนดกระบวนการรับรองเพศทางกฎหมาย โดยให้สิทธิแก่บุคคลที่มีสัญชาติไทยอายุ 18 ปีขึ้นไปในการยื่นขอรับรองอัตลักษณ์ทางเพศอย่างเป็นทางการ

นอกจากนี้ ยังมีมาตรการคุ้มครองบุคคลข้ามเพศในการเลือกปฏิบัติ และกำหนดโทษทางอาญาสำหรับการละเมิดอีกด้วย

อ้างอิงจาก https://www.undp.org/sites/g/files/zskgke326/files/migration/th/legal-gender-recognition-in-thailand-2018.pdf

 

รู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับโพสต์นี้?

Loading spinner

แชร์บทความนี้

Tag

Related Stories

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง