เรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับ “ความจนประจำเดือน”

ประจำเดือน…กระบวนการธรรมชาติของผู้หญิงและทุกคนที่เกิดมาพร้อมกับอวัยวะเพศหญิง แต่ในหลายพื้นที่ของโลก คนที่เกิดมาพร้อมอวัยวะเพศหญิงจำนวนมากกลับเข้าไม่ถึงผลิตภัณฑ์อนามัย ทั้งเพราะฐานะทางเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวย ไม่มีน้ำสะอาดหรือห้องน้ำที่ปลอดภัยให้ใช้ ต้องเผชิญกับอคติและการเหมารวมจากสังคม นี่คือสิ่งที่เรียกว่า “ความยากจนประจำเดือน” ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ การศึกษา การทำงาน และเสรีภาพของผู้มีประจำเดือน

ตัวเลขที่น่าตกใจ คือ ผู้มีประจำเดือน 600 ล้านคนทั่วโลก หรือ 1 ใน 10 วัยเจริญพันธุ์ ต้องเผชิญกับปัญหา “ความยากจนประจำเดือน” โดยในประเทศยากจน ชนบท หรือกลุ่มเปราะบาง จะเผชิญปัญหานี้รุนแรงกว่า ขาดแคลนผ้าอนามัย น้ำสะอาด ห้องน้ำที่ปลอดภัย และความรู้ที่ถูกต้อง ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อสุขภาพ การศึกษา การทำงาน และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

ในบริบทของประเทศไทย ปัญหาความยากจนประจำเดือนก็เป็นปัญหาที่มีอยู่จริง โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทและชุมชนแออัดที่ยังขาดแคลนผลิตภัณฑ์อนามัยที่จำเป็นและไม่มีน้ำสะอาดหรือห้องน้ำที่ปลอดภัยสำหรับการใช้งาน อีกทั้งยังมีความเชื่อและประเพณีบางอย่างที่มองว่าประจำเดือนเป็นสิ่งที่ไม่บริสุทธิ์ ซึ่งทำให้ผู้มีประจำเดือนต้องเผชิญกับการถูกตีตราและกีดกันจากกิจกรรมในชีวิตประจำวัน

ในโรงเรียนหลายแห่งในชนบทของประเทศไทย นักเรียนหญิงต้องหยุดเรียนในช่วงมีประจำเดือนเพราะไม่มีผ้าอนามัยใช้ ทำให้พวกเธอสูญเสียโอกาสทางการศึกษาและมีความเสี่ยงที่จะหลุดออกจากระบบการศึกษา นอกจากนี้ การขาดห้องน้ำที่ถูกสุขอนามัยในโรงเรียนยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและปัญหาสุขอนามัยอื่นๆ

สาเหตุของปัญหาความยากจนประจำเดือนในประเทศไทยประกอบด้วยฐานะทางเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวย การขาดการสนับสนุนจากภาครัฐในการจัดหาผลิตภัณฑ์อนามัยและโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสม รวมถึงการขาดการให้ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลตัวเองในช่วงมีประจำเดือน

ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหาความยากจนประจำเดือนในประเทศไทยและทั่วโลก เราควรสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องผ่านการรณรงค์ให้ความรู้ ขจัดอคติ และส่งเสริมภาพลักษณ์เชิงบวก เพิ่มการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ประจำเดือนด้วยโครงการแจกฟรี สนับสนุนกลไกทางการเงิน และยกเว้นภาษี พัฒนาระบบห้องน้ำที่ถูกสุขอนามัย และโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ส่งเสริมนโยบายที่เอื้อต่อสิทธิสตรี และกระตุ้นให้ผู้ชาย เด็กผู้ชาย และทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา

เพราะในท้ายที่สุด ประจำเดือนไม่ใช่เรื่องน่าอาย ไม่ใช่ความผิดของใคร ผู้มีประจำเดือนทุกคนสมควรได้รับการดูแล ได้ใช้ชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีในทุกช่วงเวลา มีอิสระในการเข้าถึงการศึกษา การทำงาน และโอกาสต่างๆ อย่างเท่าเทียม ไม่ว่าจะมีฐานะ เชื้อชาติ วัย หรือรสนิยมทางเพศแบบไหน เราทุกคนสามารถช่วยกันทำให้สิ่งเหล่านี้เป็นจริงได้ หากร่วมกันสร้างความเข้าใจ ลงมือทำ และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

ที่มาข้อมูล: UN Women

 

รู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับโพสต์นี้?

Loading spinner

แชร์บทความนี้

Tag

Related Stories

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง