Gender Vocabulary

เจนเดอร์โวแคบูลารี

(อะ-โบร-เซ็ก-ชวล)

แปลว่า ผู้ที่เปลี่ยนแปลงหรือเลื่อนไหลกลับไปมาระหว่างเพศสภาพหลากหลายแบบอย่างรวดเร็ว

มีงานวิจัยบางชิ้นระบุว่าบางคนอาจประสบกับการเปลี่ยนแปลงรสนิยมทางเพศของตน และสิ่งนี้มีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นกับเพศหญิงมากกว่าเพศชาย

(แอฟ-เฟิร์ม-เจน-เดอร์)

หมายถึง เพศ ที่บุคคลต้องการระบุเพื่อให้เป็นที่รับรู้ เป็นคำที่ใช้เพื่อแทนคำเดิมเช่น เพศใหม่ หรือ เพศทางเลือก เพราะคำว่าเพศใหม่ หมายความว่าเพศนั้นไม่ใช่เพศของตนเองตั้งแต่แรก และเพศทางเลือกหมายถึงว่าบุคคลได้เลือกเพศนี้มาไม่ใช่เป็นเพศของตนเองอยู่แล้ว

(อา-เจน-เดอร์)

แปลว่า บุคคลที่ไม่นิยมระบุอัตลักษณ์ทางเพศของตนเอง หรือระบุว่าตนเองไม่มีอัตลักษณ์ทางเพศ, ผู้ที่ไม่จำแนกว่าตนเองอยู่ในเพศสภาพใด ๆ เลย

(แอล-ลาย)
 
‘พันธมิตร’ เป็นคำที่ใช้อธิบายคนที่สนับสนุน LGBTIQNA+ ไม่ว่าจะเป็นในมิติส่วนตัวหรือในฐานะผู้สนับสนุนงานรณรงค์ Ally โดยทั่วไปมักจะระบุว่าตัวเองเป็นคนตรงเพศ (การแสดงออก รสนิยมทางเพศ ตรงกับอวัยวะเพศ) แต่ก็มีผู้ใช้ในมิติที่ว่า ตัวเองอยู่ในกลุ่ม LGBTIQNA+ และเป็น Ally ของคนข้ามเพศ (Transgender) เช่นกัน

(อะ-โร-แมน-ติก)

คำที่ใช้เพื่ออธิบายบุคคลที่ไม่มีความรู้สึกทางโรแมนติกหรือไม่มีความสนใจทางโรแมนติกต่อผู้อื่น คนเหล่านี้อาจมีความสนใจทางเพศหรือไม่มีก็ได้ แต่ไม่มีความปรารถนาหรือไม่ต้องการมีความสัมพันธ์ที่มีลักษณะเชิงโรแมนติกกับผู้อื่น
ความเป็น Aromantic ไม่ได้หมายความว่าไม่สามารถรัก หรือไม่มีความรู้สึกเอาใจใส่ผู้อื่น พวกเขาอาจมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและมีความหมาย ในรูปแบบอื่น ๆ เช่น ความสัมพันธ์แบบพี่น้อง ความสัมพันธ์กับเพื่อน หรือความสัมพันธ์ที่อิงกับความเคารพและความไว้วางใจ

สำหรับบางคน ความเป็น Aromantic อาจเป็นส่วนหนึ่งของตัวตนที่คงที่ ในขณะที่สำหรับบางคนอาจพบว่าความรู้สึกเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาหรือสถานการณ์ได้ การยอมรับและเข้าใจความหลากหลายของประสบการณ์ทางอารมณ์และความสัมพันธ์เป็นสิ่งสำคัญในการเคารพและยอมรับความหลากหลายของมนุษย์

(ไบ-นา-รี)

ในบริบทของเรื่องเพศหมายถึงระบบที่จำกัดเพศของมนุษย์ไว้เพียงสองประเภทเท่านั้น นั่นคือ ชาย (Male) และหญิง (Female)

ระบบนี้มองว่าเพศของมนุษย์มีเพียงสองแบบและอยู่ภายใต้ขอบเขตที่ชัดเจนจากลักษณะทางชีววิทยาและเพศสภาพ

ในปัจจุบันมีการยอมรับกันมากขึ้นว่าเพศของมนุษย์นั้นมีความหลากหลายและไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่สองประเภทนี้เท่านั้น


ลักษณะและสิ่งที่เกิดขึ้นจากระบบไบนารี

  1. กำหนดเพศสองแบบ มีเพียงชายและหญิงตามลักษณะชีววิทยาเป็นหลัก ดูแค่ตาม โครโมโซมเพศ อวัยวะเพศ และลักษณะทางสรีระภายนอก
  2. ใช้เพศไบนารีกำหนดกฎหมาย และนโยบายในสังคม
  3. มีความคาดหวังตามกล่องเพศ เช่น ผู้ชายต้องเข้มแข็งไม่ร้องไห้ ต้องเป็นผู้นำครอบครัว ต้องแข็งแรง ปกป้องคนอื่น ผู้หญิงเป็นเพศละเอียดอ่อนสวยงาม ต้องดูแลครอบครัว ต้องทำงานบ้าน
  4. อาจเกิดการไม่ยอมรับความหลากหลายนอกเหนือจากชายและหญิง และกีดกันคนที่ไม่เข้ากับระบบไบนารีให้กลายเป็นอื่น เป็นสิ่งผิดปกติ

(บิ-พอค)

BIPOC เป็นคำย่อภาษาอังกฤษที่ย่อมาจาก Black, Indigenous, People of Color ซึ่งแปลเป็นไทยได้ว่า คนผิวดำ ชนพื้นเมือง และคนผิวสี คำนี้ถูกใช้เพื่อรวมกลุ่มคนที่ไม่ได้เป็นคนผิวขาวเข้าด้วยกัน และเน้นย้ำถึงประสบการณ์ที่แตกต่างกันของแต่ละกลุ่ม

ทำไมต้องใช้คำว่า BIPOC?
เน้นความแตกต่าง – คำนี้ช่วยให้เห็นว่า แม้คนผิวสีจะถูกมองว่าเป็นกลุ่มเดียวกัน แต่ก็มีประสบการณ์ที่แตกต่างกันออกไป เช่น คนผิวดำและชนพื้นเมืองมักเผชิญกับความไม่เท่าเทียมทางสังคมและเชื้อชาติมากกว่ากลุ่มอื่นๆ

ให้ความสำคัญกับชนพื้นเมือง – การใส่คำว่า “Indigenous” เข้าไป ช่วยให้เห็นถึงความสำคัญของชนพื้นเมือง และประวัติศาสตร์อันยาวนานของพวกเขา

สร้างความเป็นหนึ่งเดียวกัน – คำนี้ช่วยให้กลุ่มคนที่เคยรู้สึกโดดเดี่ยว มารวมตัวกันเป็นกลุ่มเดียวกัน และช่วยให้เกิดพลังในการเรียกร้องความเท่าเทียม

ทำไมคำนี้ถึงได้รับความนิยม?
– การเคลื่อนไหวต่างๆ เช่น Black Lives Matter ทำให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ภาษาที่ถูกต้องและเป็นธรรม
– สังคมเริ่มให้ความสำคัญกับความหลากหลายมากขึ้น และคำนี้ก็สะท้อนถึงความหลากหลายนั้น
– คำนี้เริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2013 แต่เพิ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในช่วงปี 2020
– สื่อโซเชียลมีเดียช่วยให้คำนี้แพร่หลายไปทั่วโลก

สรุป
คำว่า BIPOC เป็นคำที่ใช้เรียกกลุ่มคนที่ไม่ได้เป็นคนผิวขาว และเน้นย้ำถึงประสบการณ์ที่แตกต่างกันของแต่ละกลุ่ม การใช้คำนี้เป็นการแสดงออกถึงความเคารพและความเข้าใจในความหลากหลายของมนุษย์ และเป็นก้าวสำคัญในการสร้างสังคมที่เท่าเทียมกัน

สิ่งที่ควรรู้เพิ่มเติม:
– คำว่า BIPOC ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่ใช้คำอื่นๆ เช่น คนผิวสี หรือคนเอเชียอีกต่อไป แต่เป็นเพียงการเพิ่มทางเลือกในการสื่อสารให้มีความหมายที่ชัดเจนมากขึ้น

– ควรใช้คำนี้ในบริบทที่เหมาะสม และหลีกเลี่ยงการใช้ในทางที่ดูหมิ่นหรือเหยียดหยาม

– การใช้คำนี้ควรมาพร้อมกับการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และปัจจุบันของกลุ่มคนที่อยู่ในกลุ่ม BIPOC

– แม้คำนี้จะมีจุดประสงค์ที่ดี แต่ก็มีข้อวิจารณ์ว่าอาจทำให้เกิดการรวมกลุ่มที่มากเกินไป และไม่ได้สะท้อนประสบการณ์ที่แตกต่างของแต่ละกลุ่ม

(ซิส-เจน-เดอร์)

 

บุคคลที่อัตลักษณ์ทางเพศตรงกับเพศที่ถูกกำหนดให้เมื่อเกิด นั่นคือ ระบุตัวตนว่าเป็นชายหรือหญิงตามอวัยวะเพศที่ปรากฏเมื่อเกิด

เช่น คนคนหนึ่งถูกกำหนดว่าเป็นเพศหญิงเมื่อเกิดและเมื่อเติบโตขึ้นก็รู้สึกและระบุตัวตนว่าเป็นหญิง จะถูกเรียกว่า “ซิสเจนเดอร์หญิง” เช่นเดียวกันหากบุคคลที่ถูกกำหนดว่าเป็นเพศชายเมื่อเกิดและระบุตัวตนว่าเป็นชาย เขาจะเรียกว่า “ซิสเจนเดอร์ชาย”

 

ตรงกันข้ามกับ “transgender” ซึ่งหมายถึงบุคคลที่อัตลักษณ์ทางเพศไม่ตรงกับเพศที่พวกเขาถูกกำหนดให้เมื่อเกิด 

 

คำว่า “cisgender” ช่วยให้สามารถพูดถึงประสบการณ์ของบุคคลที่มีอัตลักษณ์ทางเพศตรงกับเพศเกิดได้อย่างชัดเจนโดยไม่ต้องสันนิษฐานว่าเป็น “ปกติ” หรือ “มาตรฐาน” เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมและยอมรับความหลากหลายของอัตลักษณ์ทางเพศในสังคม 




ลักษณะ ของ CISGENDER 

  • เพศกำเนิดและเพศระบุตัวตนตรงกัน
  • ไม่มีประสบการณ์ของการเปลี่ยนเพศหรือการระบุตัวตนที่ต่างจากเพศกำเนิด
  • ส่วนใหญ่ไม่ต้องเผชิญกับคำถามเกี่ยวกับอัตลักษณ์ทางเพศ
  • มักได้รับการยอมรับในสังคมไบนารีโดยอัตโนมัติ

(คอน-เซ้นท์)

แปลว่า อนุญาต ตกลง ยินยอม

ในบริบททางเพศและกิจกรรมทางเพศ คือการยินยอม ตกลงพร้อมใจว่าเราต้องการสิ่งนี้ในแบบเดียวกัน โดยไม่อนุมานเอาเองจากอากัปกริยา ท่าทาง 

(เดด-เนม-มิ่ง)
 
การเรียกคนอื่นด้วยชื่อเก่า หรือชื่อที่เขาไม่ต้องการถูกเรียกแล้ว การอ้างถึงบุคคลข้ามเพศหรือบุคคลที่ไม่ใช่ไบนารีด้วยชื่อที่พวกเขาใช้ก่อนการเปลี่ยนแปลง
 
เมื่อใครเปลี่ยนชื่อแล้ว เราก็ควรเรียกเขาด้วยชื่อใหม่ที่เขาเลือก เพราะถือเป็นการยอมรับในตัวตน และให้เกียรติคนๆ นั้น
 
การเปลี่ยนชื่อจากชื่อเก่าหรือชื่อที่ถูกตั้งตอนแรกเกิดมาใช้ชื่อที่ตัวเองเลือกและเหมาะสมกับตัวตนและสถานะเพศจริง ๆ ในคนข้ามเพศ หรือเพศทางเลือก ถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ช่วยให้ผู้คนรอบข้างมองคนข้ามเพศด้วยสภาพเพศที่พวกเขาเป็นจริง ๆ ไม่ใช่เพศโดยกำเนิด รวมถึงยังช่วยให้คนข้ามเพศและคนรอบข้างรู้สึกอึดอัดใจน้อยกว่าการถูกเรียกชื่อเดิมด้วย
 
แต่บางครั้งด้วยความเคยชิน คนรอบข้างก็อาจยังเผลอเรียกชื่อคนข้ามเพศด้วยชื่อเก่า หรือซ้ำร้ายกว่านั้น บางคนจงใจเรียกชื่อเก่า หรือชื่อเกิด เพราะต้องการหยอกล้อ ล้อเลียน หรือทำให้คนข้ามเพศอับอาย แม้คนข้ามเพศจะเปลี่ยนชื่ออย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้วก็ตาม
 
การเรียกคนข้ามเพศด้วยชื่อเก่า ชื่อเกิด ซึ่งเป็นชื่อที่พวกเขาไม่ได้ใช้อีกแล้ว ไม่เรียกชื่อคนข้ามเพศด้วยชื่อที่พวกเขาเลือก ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม เราเรียกว่า “Deadnaming”
 
เราจึงควรเคารพคนที่เปลี่ยนชื่อด้วยการเรียกชื่อที่เขาให้เรียก และไม่ควรเอาตรงนี้มาเป็นอาวุธด่าทอหรือล้อเลียน เพราะเป็นส่วนนึงที่ผลิตซ้ำการเหยียดทางเพศ
 
(โด-เมส-ติก-ไว-โอ-เลนซ์)
 
“ความรุนแรงในครอบครัว”, “ความรุนแรงในบ้าน”, “การกระทำความรุนแรงต่อคนในความสัมพันธ์”
 
เป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด ทั้งทางกายภาพ จิตใจ หรือทางเพศ
การกระทำความรุนแรงทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็นต่อสมาชิกในครอบครัว
หรือคู่ครอง ความรุนแรงนี้รวมถึงการทำร้ายร่างกาย การข่มขู่ การควบคุมทางการเงิน การละเมิดทางเพศ หรือการทำร้ายทางจิตใจและอารมณ์
 
ข้อมูลเพิ่มเติม
มีการสำรวจพบว่า 75% ของผู้หญิงในประเทศไทยประสบกับเหตุการณ์ความรุนแรงในครอบครัวมากกว่าหนึ่งครั้ง และ 87.4% ของผู้หญิงที่ถูกกระความทำรุนแรงไม่เคยขอความช่วยเหลือหรือปรึกษากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพราะต้องการเก็บสิ่งนี้เป็นความลับ ด้วยปัจจัยหลายประการ และ ในปี 2565 มีการรายงานว่าเหตุการณ์ความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กในประเทศไทยเพิ่มขึ้นเป็นสามเท่า ส่วนสาเหตุของความรุนแรงในครอบครัวนั้น มีหลายประการ เกี่ยวข้องกับปัจจัยทั้งในระดับบุคคลและสังคม
 
ปัจจัยระดับบุคคล: รวมถึงปัญหาสุขภาพจิต เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล หรือภาวะซึมเศร้า การมีประวัติของการถูกกระทำรุนแรงหรือการถูกละเมิดในวัยเด็ก และการใช้สารเสพติดหรือแอลกอฮอล์
 
ปัจจัยด้านความสัมพันธ์: ความสัมพันธ์ที่มีความรุนแรง การควบคุม หรือการขาดการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ อาจนำไปสู่ความรุนแรงในครอบครัว
 
ปัจจัยสังคมและเศรษฐกิจ: ความเครียดทางเศรษฐกิจ เช่น การว่างงานหรือความยากจน สามารถเพิ่มความเสี่ยงของความรุนแรงในครอบครัวได้ นอกจากนี้ สังคมที่มีค่านิยมแบบผู้ปกครองหรือเพศชายเป็นใหญ่ก็เป็นอีกปัจจัยส่งเสริมความรุนแรงได้
 
ปัจจัยวัฒนธรรม: ในบางวัฒนธรรม มีการยอมรับหรือมองข้ามความรุนแรงในครอบครัว มองว่าเป็นเรื่องปกติ เป็นเรื่องของผัวเมีย ซึ่งส่งผลให้เกิดการปฏิบัติที่รุนแรงต่อสมาชิกในครอบครัว
 
ปัจจัยสถาบันและกฎหมาย: การขาดกฎหมายที่เข้มแข็งหรือการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เพียงพอในการป้องกัน รวมถึงทัศนคติของผู้ใช้กฏหมาย ที่มองว่าเรื่องความรุนแรงในครอบครัวเป็นเรื่อง ผัวๆ เมียๆ (ซึ่งเชื่อมโยงมาจากปัจจัยด้านวัฒนธรรม)
 
ที่มาข้อมูล
Domestic violence surge in Thailand sparks renewed action, https://thethaiger.com/
Survey shows 75% of Thai women experience domestic violence more than once, https://www.thaipbsworld.com/
Violence against women and children in Thailand triples in 2022, https://thethaiger.com/

(เอฟเฟมมิโนโฟเบีย) คือคำศัพท์ที่หมายถึงความกลัวหรือความรังเกียจต่อพฤติกรรมหรือลักษณะที่มีความเป็นผู้หญิง (feminine) ในผู้ชาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มชายรักชาย

เป็นรูปแบบหนึ่งของความเกลียดกลัวความเป็นหญิง (misogyny) ที่แสดงออกต่อผู้ชายที่มีลักษณะคล้ายผู้หญิง 

 

คำนี้มาจากรากศัพท์ภาษาละตินว่า “effeminare” ซึ่งแปลว่า “ทำให้เป็นผู้หญิง” และ “phobia” ซึ่งแปลว่า “ความกลัว” 

 

ตัวอย่างของพฤติกรรม effeminophobic

– การล้อเลียนหรือกลั่นแกล้งผู้ชายที่มีลักษณะเป็นผู้หญิง

– การใช้คำดูถูกเหยียดหยามผู้ชายที่มีลักษณะเป็นผู้หญิง

– การเลือกปฏิบัติต่อผู้ชายที่มีลักษณะเป็นผู้หญิงในการทำงานหรือในสังคม

– การใช้ความรุนแรงต่อผู้ชายที่มีลักษณะเป็นผู้หญิง




แล้วเราจะทำอย่างไรกันดี 

มีหลายวิธีที่จะต่อสู้กับ effeminophobia เช่น

– การศึกษาและสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับ effeminophobia และผลกระทบของ effeminophobia

– การสนับสนุนผู้ชายที่มีลักษณะเป็นผู้หญิง

– การท้าทาย stereotype เกี่ยวกับความเป็นชาย

– การสร้างสังคมที่เปิดกว้างและครอบคลุม

 

งานวิจัยพบว่าชายรักชายในพื้นที่ชนบทมักมีทัศนคติ effeminophobia เนื่องจากพวกเขาต้องการแสดงออกถึงความเป็นชายตามบรรทัดฐานของสังคมชนบท  จึงมักปฏิเสธและแยกตัวเองออกจากผู้ชายรักชายที่มีลักษณะเป็นผู้หญิง เพื่อเน้นความคล้ายคลึงกับผู้ชายรักต่างเพศ

 

นอกจากนี้ effeminophobia ยังพบได้ในวงการบางประเภท เช่น การเต้นรำบอลรูม ซึ่งผู้ตัดสินและนักเต้นบางคนไม่ชอบการเต้นรำที่มีลักษณะเป็นผู้หญิง  เนื่องจากถือว่าเป็นการท้าทายบรรทัดฐานความเป็นชายแบบดั้งเดิม

 

โดยสรุป effeminophobia เป็นทัศนคติที่รังเกียจหรือกลัวลักษณะความเป็นผู้หญิงในผู้ชาย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการยอมรับบรรทัดฐานเรื่องเพศสภาพและความเป็นชายในสังคม 

(อี-กัล-ลิ-ทา-เรียน)
แปลว่า หลักการเท่าเทียม

คือแนวคิดหรือหลักการที่ยึดถือความเชื่อว่าทุกคนมีสิทธิ์และคุณค่าเท่าเทียมกัน ในเรื่องสิทธิ โอกาส และความยุติธรรมในสังคม
ไม่ว่าจะเป็นเพศ, เชื้อชาติ, ชนชั้น, หรือสถานะทางสังคมใดๆ หลักการนี้จะสนับสนุนให้ทุกคนได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันในทุกๆ ด้าน ไม่มีการแบ่งแยกหรือการกีดกัน
.
ในสังคมที่ยึดหลัก Egalitarian ผู้คนจะพยามลดหรือขจัดอคติต่างๆ เช่น พยายามสร้างความเท่าเทียมในที่ทำงานโดยให้โอกาสทางอาชีพและการเลื่อนตำแหน่งอย่างเท่าเทียมกัน การศึกษาที่เปิดกว้างสำหรับทุกคนโดยไม่คำนึงถึงฐานะ และการเข้าถึงบริการสาธารณะอย่างเท่าเทียมไม่ว่าจะเป็นการดูแลสุขภาพหรือการศึกษา
.
การยึดถือหลักการนี้ไม่เพียงแต่ช่วยลดความไม่เท่าเทียมในสังคมเท่านั้น แต่ยังช่วยสร้างความสามัคคีและความเข้าใจซึ่งกันและกันในหมู่ผู้คนที่มีความหลากหลาย

(ฟลู-อิด)

เป็นคำคุณศัพท์ที่ใช้อธิบายอัตลักษณ์ทางเพศ (gender identity) ที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา

คนที่ระบุตัวเองว่า fluid อาจรู้สึกว่าเพศของตนเปลี่ยนแปลงไปมาระหว่างชาย หญิง หรือเพศอื่น ๆ  หรืออาจรู้สึกว่าเพศของตนอยู่นอกเหนือกรอบเพศแบบ Binary  โดยสิ้นเชิง

  • บุคคลที่ระบุตนว่า fluid อาจรู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้หญิงในบางวัน เป็นผู้ชายในบางวัน และเป็นเพศอื่น ๆ ในบางวัน
  • บุคคลที่ระบุตนว่า fluid อาจรู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้หญิงและผู้ชายในเวลาเดียวกัน 
  • บุคคลที่ระบุตนว่า fluid อาจรู้สึกว่าตนไม่มีเพศ (agender) ในบางวัน และมีเพศ (gendered) ในบางวัน

สิ่งนี้คือความลื่นไหล ไม่ตายตัว แต่ละคนมีประสบการณ์และความรู้สึกเกี่ยวกับเพศของตนแตกต่างกัน 

สิ่งสำคัญคือต้องเคารพการระบุตนเองของบุคคล และใช้คำศัพท์ที่บุคคลนั้นต้องการ โดยเข้าใจว่านี่ไม่ใช่ความแปลก เยอะ วุ่นวาย 

การเรียนรู้เกี่ยวกับคำศัพท์เพศวิถีจะช่วยให้เราเข้าใจความหลากหลายทางเพศ และสร้างสังคมที่เปิดกว้างและครอบคลุมมากขึ้น

(เจน-เด้อ)

ในภาษาไทยหมายถึง “เพศ” หรือ “เพศสภาพ” ซึ่งอ้างอิงถึงบทบาท พฤติกรรม กิจกรรม ที่สังคมคาดหวัง คำนี้มีความหมายที่กว้างกว่าเพียงแค่ลักษณะทางชีววิทยาหรือเพศภายนอก เพราะมันยังรวมถึงบทบาททางเพศทางสังคมและการระบุเพศที่เป็นตัวตนของแต่ละบุคคลด้วย

Gender มีการแบ่งออกเป็นหลายมิติ ได้แก่

เพศชีววิทยา (Biological sex): ลักษณะทางชีววิทยาของอวัยวะเพศ โครโมโซม และฮอร์โมน

เพศสภาพทางสังคม (Gender roles): บทบาท พฤติกรรม และกิจกรรมที่สังคมคาดหวังจากบุคคลตามเพศของพวกเขา

การระบุเพศ (Gender identity): ความรู้สึกหรือการรับรู้ของบุคคลเกี่ยวกับเพศของตนเอง ไม่ว่าจะตรงกับเพศที่ได้รับการกำหนดตอนเกิดหรือไม่

การแสดงออกทางเพศ (Gender expression): วิธีที่บุคคลแสดงออกถึงเพศของตนเองผ่านการแต่งกาย ท่าทาง พฤติกรรม และการสื่อสารทางสังคม

การทำความเข้าใจเรื่องเพศในมิติที่หลากหลายนี้จะช่วยให้เราสามารถเคารพและยอมรับความหลากหลายของตัวตนทางเพศในสังคมได้มากขึ้น

(เฮท-เทอ-โร-เซ็ก-ชวล)

มาจากภาษากรีก “heteros” ซึ่งหมายถึง “ต่างกัน” และ “sexual” ซึ่งหมายถึง “ทางเพศ”
Hetero + sexual หมายถึง บุคคลที่มีความดึงดูดหรือมีความสนใจทางเพศ อารมณ์ และโรแมนติกกับเพศตรงข้าม
ลักษณะของ Heterosexual:

  • ชายมีความดึงดูดและความสนใจทางเพศกับผู้หญิง
  • หญิงมีความดึงดูดและความสนใจทางเพศกับผู้ชาย
  • โดยทั่วไปแล้วสามารถมีลูกด้วยกันได้ตามธรรมชาติ
  • เป็นรสนิยมทางเพศที่เป็นที่ยอมรับและเป็นบรรทัดฐานของสังคมโดยทั่วไป

โดยสรุป Heterosexual คือ บุคคลที่มีเพศวิถีแบบรักต่างเพศ หรือมีความดึงดูดต่อเพศตรงข้าม ทั้งในด้านเพศ อารมณ์ และความสัมพันธ์

(โฮ-โม-ฮิส-เท-เรีย)

Homohysteria ส่งผลต่อผู้ชายในหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมที่มีการเกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกัน (homophobia) สูง ซึ่งมีผลกระทบต่อพฤติกรรมและการแสดงออกของผู้ชาย เช่น ผู้ชายอาจรู้สึกกดดันที่จะต้องแสดงความเป็นชายแบบดั้งเดิมอย่างเข้มงวด เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกมองว่าเป็นเกย์ ซึ่งอาจนำไปสู่พฤติกรรมที่ก้าวร้าวหรือการแยกตัวทางกายภาพจากผู้ชายคนอื่น หรือหลีกเลี่ยงการแสดงออกทางอารมณ์ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพจิตในระยะยาว


ในสังคมที่มีความเกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกันลดลง ผู้ชายสามารถแสดงออกถึงความใกล้ชิดทางกายภาพและอารมณ์กับผู้ชายคนอื่นได้มากขึ้น โดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูกมองว่าเป็นเกย์ จะส่งผลให้ชีวิตของผู้ชายรักต่างเพศดีขึ้น

การลดลงของ homohysteria ทำให้มีการเปิดกว้างมากขึ้นต่อพฤติกรรมที่เคยถูกมองว่าเป็นของคนรักเพศเดียวกัน เช่น การยอมรับเพื่อนที่เป็นเกย์ การเพิ่มความใกล้ชิดทางอารมณ์ และการลดการใช้ความรุนแรง

(โฮ-โม-โฟ-เบีย)

 

หมายถึง อคติ ความเกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกันอันเกิดมาจากการหล่อหลอมของสังคม ค่านิยมทางวัฒนธรรมและศาสนา บางครั้งอาจพัฒนาไปสู่กฎหมายข้อห้ามหรือแม้กระทั่งความรุนแรงต่อคนรักเพศเดียวกัน

 

คำว่า Homophobia ถูกหยิบยกขึ้นมาใช้เป็นครั้งแรกโดย George Weinberg จิตแพทย์ชาวอเมริกัน ในหนังสือ Society and The Healthy Homosexual (1972) 

 

แม้ว่าคำปัจจัย -phobia จะถูกใช้เพื่ออธิบายความกลัวอันไร้เหตุผล แต่ในกรณีของ Homophobia กินความหมายอย่างกว้างตั้งแต่ระดับไม่พอใจเล็กน้อย ไปจนถึงความรังเกียจเดียดฉันท์คนที่มีลักษณะดึงดูดต่อคนรักเพศเดียวกัน 

 

ปัจจุบันแนวคิดที่เกิดจาก Homophobia ยังคงส่งผลกระทบอย่างมากต่อคนรักเพศเดียวกันในหลายพื้นที่บนโลก และสิ่งที่จะทำให้แนวคิดนี้บรรเทาเบาบางลงได้คือแนวคิดเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการมองเพื่อนมนุษย์อย่างเท่าเทียมเสมอหน้ากัน 

(ไอ-เดน-ทิ-ตี้ ไคร-ซิส)

ภาวะวิกฤตอัตลักษณ์ เป็นประสบการณ์ที่ซับซ้อนและมีหลากหลายมิติในชีวิตมนุษย์ แม้ว่าเราจะมุ่งเน้นไปที่มิติทางเพศในที่นี้ แต่สำคัญที่ต้องเข้าใจว่า การค้นหาตัวตนนั้นครอบคลุมหลายด้านของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นอาชีพ ความเชื่อ วัฒนธรรม หรือแม้แต่บทบาททางสังคม

ในมิติเรื่องเพศ Identity Crisis เป็นช่วงเวลาแห่งการสำรวจและทำความเข้าใจอัตลักษณ์ทางเพศของตนเอง ซึ่งเป็นกระบวนการธรรมชาติของการเติบโตและพัฒนาตน ไม่ใช่ความผิดปกติหรือความสับสน แต่เป็นโอกาสในการค้นพบและยอมรับตัวตนที่แท้จริง

ประสบการณ์นี้อาจเกิดขึ้นเมื่อบุคคลเริ่มตระหนักว่าความรู้สึกหรืออัตลักษณ์ของตนอาจแตกต่างจากบรรทัดฐานทางสังคมหรือความคาดหวังที่เคยมี ตัวอย่างเช่น:

1. วัยรุ่นที่ค้นพบว่าตนมีความดึงดูดทางเพศที่หลากหลาย
2. บุคคลที่เริ่มสำรวจความเป็นไปได้ของการเป็นคนข้ามเพศ
3. ผู้ที่กำลังทำความเข้าใจกับอัตลักษณ์แบบ non-binary
4. บุคคลที่พบว่าความดึงดูดทางเพศของตนมีความยืดหยุ่นและอาจเปลี่ยนแปลงได้
5. ผู้ที่เริ่มตั้งคำถามกับบทบาททางเพศที่สังคมคาดหวัง

กระบวนการนี้เป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาตนเอง แม้อาจมีความท้าทายและความไม่แน่นอน แต่มักนำไปสู่ความเข้าใจตนเองที่ลึกซึ้งขึ้น การยอมรับในตัวตน และความสุขที่แท้จริง

สำคัญที่ต้องเข้าใจว่า การค้นหาอัตลักษณ์ทางเพศเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการค้นหาตัวตนโดยรวม บุคคลหนึ่งอาจกำลังเผชิญกับ Identity Crisis ในหลายมิติพร้อมกัน เช่น กำลังค้นหาเป้าหมายในชีวิต ตั้งคำถามกับความเชื่อทางศาสนา หรือพยายามสร้างสมดุลระหว่างวัฒนธรรมดั้งเดิมกับสังคมสมัยใหม่

การสนับสนุนและเปิดใจยอมรับจากคนรอบข้างมีส่วนสำคัญในการช่วยให้บุคคลผ่านช่วงเวลาแห่งการค้นหาตัวตนนี้ไปได้อย่างราบรื่น ไม่ว่าจะเป็นในมิติใดก็ตาม การเน้นย้ำว่านี่เป็นกระบวนการเรียนรู้และเติบโตที่เป็นธรรมชาติ ไม่ใช่ความสับสนหรือความผิดปกติ จะช่วยลดการตีตราและส่งเสริมความเข้าใจที่ดีขึ้นต่อประสบการณ์ของผู้ที่กำลังค้นหาอัตลักษณ์ของตนเอง

(อิน-เตอร์-เซ็กส์)


ความหมาย: บุคคลที่มีลักษณะทางเพศที่ไม่สอดคล้องกับการจำแนกเพศแบบขั้วตรงข้ามระหว่างเพศชายและเพศหญิงตามแนวคิดแบบดั้งเดิม ทั้งในแง่ของรูปร่างหน้าตา ลักษณะของอวัยวะเพศภายนอก องค์ประกอบทางพันธุกรรม หรือระดับฮอร์โมนในร่างกาย

บุคคล Intersex บางคนอาจมีอวัยวะเพศที่มีลักษณะผสมระหว่างเพศชายและเพศหญิง บางคนอาจมีอวัยวะเพศที่ไม่ตรงกับเพศกำเนิด หรือมีระดับฮอร์โมนที่แตกต่างจากเพศที่ถูกกำหนดจากรูปลักษณ์ภายนอก นอกจากนี้ บางคนอาจมีลักษณะทางเพศที่อยู่ระหว่างเพศชายและเพศหญิงอย่างเห็นได้ชัด

ภาวะ Intersex เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติในมนุษย์ทุกเชื้อชาติและวัฒนธรรม แม้สาเหตุของภาวะนี้อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แต่ทุกกรณีล้วนเป็นสภาวะปกติที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติทั้งสิ้น


ในปัจจุบัน สังคมเริ่มตระหนักรู้และให้การยอมรับต่อบุคคล Intersex มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ความเข้าใจและการยอมรับต่อความหลากหลายทางเพศยังคงเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องช่วยกันผลักดันต่อไป เพื่อสร้างสังคมที่เท่าเทียมและเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของทุกคนอย่างแท้จริง

(จัส-ทิส)

หมายถึง หลักการของความยุติธรรมและความเสมอภาค ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการแสวงหาความเท่าเทียมทางเพศ 

 

ความยุติธรรมเป็นแนวคิดที่ว่าทุกคนควรได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม มีสิทธิและโอกาสที่เท่าเทียมกัน โดยไม่คำนึงถึงเพศสภาพ อายุ เชื้อชาติ ศาสนา หรือสถานะทางสังคม

 

ในบริบทของความเสมอภาคทางเพศ Justice มุ่งเน้นไปที่การขจัดการเลือกปฏิบัติและอคติทางเพศในทุกมิติของสังคม ไม่ว่าจะเป็นในด้านการศึกษา การจ้างงาน การเมือง หรือกฎหมาย

 

การส่งเสริมความยุติธรรมทางเพศหมายถึงการสร้างสภาพแวดล้อมและโครงสร้างทางสังคมที่เอื้อให้ทุกคนสามารถแสดงศักยภาพและบรรลุเป้าหมายในชีวิตได้อย่างเต็มที่ โดยปราศจากข้อจำกัดหรืออุปสรรคที่เกิดจากเพศสภาพ

 

ความยุติธรรมทางเพศจึงเป็นเป้าหมายสำคัญของขบวนการต่อสู้เพื่อสิทธิสตรีและความเท่าเทียมทางเพศ ทั้งในระดับปัจเจกบุคคล ชุมชน ประเทศ และระดับสากล 

 

การสร้างสังคมที่ยุติธรรมและเสมอภาคสำหรับทุกเพศจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการปรับเปลี่ยนทัศนคติ กฎเกณฑ์ และโครงสร้างที่เป็นอยู่ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการของความเท่าเทียมและเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของทุกคน

คุชู

เป็นคำที่ใช้ในบางประเทศแถบแอฟริกาตะวันออก โดยเฉพาะในยูกันดา โดยสมาชิกของชุมชน LGBTQ+ ใช้เป็นคำเรียกแทนตนเอง เป็นคำที่ถูกนำกลับมาใช้ใหม่

ที่มาของคำ
“คุชู” มาจากภาษา Luganda ภาษาพื้นเมืองของยูกันดา แปลว่า “ก้น”
ในอดีต คำนี้ถูกใช้เป็นคำด่า เพื่อดูถูกเหยียดหยามสมาชิก LGBTQ+
ต่อมา สมาชิก LGBTQ+ ในยูกันดาได้นำคำนี้กลับมาใช้ใหม่ เพื่อสร้างความหมายใหม่ เป็นคำเรียกแทนตนเอง แสดงถึงความภาคภูมิใจในเพศสภาพและรสนิยมทางเพศ

***
คำว่า “คุชู” เป็นคำที่ใช้เฉพาะในบางประเทศในแอฟริกาตะวันออก ไม่ควรใช้ในบริบทอื่น
ควรใช้คำนี้ด้วยความเคารพ ไม่ควรใช้เป็นคำด่าหรือดูถูก

มาเวอร์เฟม

เป็นคำที่ใช้เรียกเอกลักษณ์ทางเพศหนึ่ง ซึ่งมักจะใช้เพื่ออธิบายถึงผู้หญิงที่รู้สึกว่าตัวเองไม่ได้เป็นผู้หญิงแบบดั้งเดิม หรือไม่ได้สอดคล้องกับมาตรฐานความเป็นผู้หญิงที่สังคมกำหนดไว้ทั้งหมด

ลักษณะเด่นของคนมาเวอร์เฟม
1.ไม่สอดคล้องกับความเป็นผู้หญิงแบบดั้งเดิม: อาจไม่ชอบแต่งตัวในแบบที่ผู้หญิงส่วนมากแต่ง ไม่ชอบทำกิจกรรมที่สังคมมองว่าเป็นกิจกรรมของผู้หญิง หรืออาจไม่รู้สึกผูกพันกับบทบาททางสังคมของผู้หญิง

2.รู้สึกแตกต่าง: อาจรู้สึกว่าตัวเองแตกต่างจากผู้หญิงคนอื่น ๆ หรือไม่เข้ากับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
สำรวจเอกลักษณ์ของตนเอง: อาจใช้คำนี้เพื่อสำรวจและเข้าใจตัวตนของตัวเองมากขึ้น

เหตุใดจึงมีการใช้คำว่า มาเวอร์เฟม
– ขยายขอบเขตของความเป็นผู้หญิง เพื่อให้ความหมายของความเป็นผู้หญิงมีความหลากหลายมากขึ้น

– สร้างพื้นที่ให้กับผู้หญิงที่รู้สึกแตกต่าง เพื่อให้ผู้หญิงเหล่านี้มีพื้นที่ในการแสดงออกและยอมรับในตัวตนของตนเอง

มาเวอร์เฟมแตกต่างจากเฟมินีน (Feminine) อย่างไร
-เฟมินีน: มักจะหมายถึงลักษณะที่เป็นผู้หญิงตามแบบแผนทางสังคม

-มาเวอร์เฟม: หมายถึงลักษณะที่เป็นผู้หญิง แต่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่กรอบความคิดแบบดั้งเดิม

ลิธโรแมนทิค

เป็นหนึ่งในหลาย ๆ เอกลักษณ์ทางเพศที่ใช้ในการอธิบายความรู้สึกทางโรแมนติกที่แตกต่างออกไปจากความรู้สึกทั่วไป

หมายถึงคนที่สามารถรู้สึกถึงความรักหรือความรู้สึกโรแมนติกต่อคนอื่นได้ แต่จะไม่ต้องการหรือรู้สึกไม่สบายใจเมื่อได้รับความรู้สึกนั้นตอบกลับมา

กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ความรักที่พวกเขารู้สึกจะไม่ได้ต้องการการตอบสนองจากฝ่ายตรงข้าม อาจจะทำให้พวกเขารู้สึกดีที่ได้รักใครสักคน แต่ไม่ต้องการที่จะให้ความรักนั้นกลายเป็นความสัมพันธ์โรแมนติกที่แท้จริง

ลักษณะเด่นของคนลิธโรแมนติก

  • รู้สึกดึงดูดผู้อื่นทางโรแมนติก: อาจรู้สึกประทับใจในบุคลิกภาพ ความสามารถ หรือลักษณะภายนอกของผู้อื่น
  • ไม่ต้องการความสัมพันธ์โรแมนติก: ไม่ต้องการความใกล้ชิดทางโรแมนติก หรือการแสดงออกทางความรักแบบทั่วไป
  • อาจรู้สึกไม่สบายใจกับความสัมพันธ์โรแมนติก: อาจรู้สึกว่าความสัมพันธ์โรแมนติกเป็นภาระ หรือเป็นสิ่งที่ทำให้รู้สึกอึดอัด
  • อาจรู้สึกว่าความรักโรแมนติกเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น: อาจให้ความสำคัญกับมิตรภาพ หรือความสัมพันธ์แบบอื่นมากกว่า

    สิ่งที่ควรทำความเข้าใจ
  • ลิธโรแมนติกไม่ใช่โรค: เป็นเพียงหนึ่งในรูปแบบของความรู้สึกทางโรแมนติกที่หลากหลาย
  • ไม่มีถูกผิด: ทุกคนมีวิธีแสดงออกทางความรู้สึกที่แตกต่างกัน
  • การยอมรับตนเอง: การยอมรับและเข้าใจในเอกลักษณ์ของตนเองเป็นสิ่งสำคัญ

(นอน-ไบ-นา-รี)


หมายถึง การระบุเพศที่ไม่จำกัดอยู่ในขอบเขตของเพศชายหรือเพศหญิงเท่านั้น เป็นการมองเพศในสเปคตรัมที่กว้างขึ้น ไม่จำเป็นต้องเข้ากับมาตรฐานสองเพศ (binary gender)

คนที่ระบุตัวเองว่าเป็นนอนไบนารีอาจรู้สึกว่าพวกเขาไม่เข้ากับหมวดหมู่ของเพศชายหรือเพศหญิงอย่างชัดเจน อาจรู้สึกว่ามีคุณลักษณะของทั้งสองเพศผสมผสานกัน บางคนอาจรู้สึกว่าไม่มีเพศหรืออยู่นอกเหนือขอบเขตของการระบุเพศทั้งหมด

การระบุเพศแบบนอนไบนารีไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับการมีความสนใจทางเพศหรือความต้องการทางเพศ (sexual orientation) ของบุคคลนั้น คนนอนไบนารีสามารถมีความสนใจในเพศใดๆ ก็ได้

นอนไบนารีเป็นเรื่องของการรับรู้ตัวตน และการแสดงออกทางเพศที่แตกต่างจากมาตรฐานเพศชายและเพศหญิงที่สังคมกำหนดไว้

(แพน-เซ็ก-ชวล)

หมายถึง ผู้ที่ไม่ปิดกั้นว่าคนรักจะเป็นเพศอะไร มีความสนใจในผู้ที่มีอัตลักษณ์ทางเพศใดก็ได้

คนที่เป็นแพนเซ็กชวล (Pansexual) มักนิยามว่าเพศไม่ใช่ปัจจัยในการเลือกคู่
ความรักหรือแรงดึงดูดทางเพศที่พวกเขามีต่อผู้อื่น แพนเซ็กชวลมีความหมายเกี่ยวกับความเป็นหนึ่งเดียว ไม่ว่าจะชายหรือหญิงที่อยู่ในสถานภาพใดก็ตาม มันอยู่ในประเภทเดียวกับไบเซ็กชวลแต่กว้างกว่าตรงที่ pansexuality สามารถรักได้กับทุกเพศ เพราะเพศไม่ได้เป็นปัจจัยในการดึงดูด

(โพ-ลี-อา-มอ-รี่)

แนวคิดในการมีความสัมพันธ์ทางอารมณ์หรือทางเพศกับหลายคนพร้อมกัน โดยที่ทุกฝ่ายในความสัมพันธ์ต่างตกลงรับรู้และยินยอมในสถานะนี้

คำนี้มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกโบราณ poly ที่หมายถึง “หลาย” และภาษาละติน amor หมายถึง “ความรัก”


Polyamory แตกต่างจากการนอกใจ เนื่องจากมีหลักการใหญ่ๆ เน้นไปที่ การเปิดเผยและการให้ความเคารพต่อกันและกัน ไม่โกหก ทุกคนรู้ข้อมูลที่เป็นจริง และมีสิทธิในการตัดสินใจของตัวเอง

ความสัมพันธ์แบบ Polyamory สามารถปรากฏในหลายรูปแบบ รวมถึงความสัมพันธ์ที่ทุกคนมีความรักหรือเพศสัมพันธ์ต่อกันและกัน (ในหนึ่งกลุ่มผู้คน) หรือความสัมพันธ์ที่บางคนมีความรักหรือเพศสัมพันธ์กับคนนอกความสัมพันธ์เดิม

(ทรานส์-เจน-เดอร์)

คนข้ามเพศ คนที่มีการเปลี่ยนแปลงเนื้่อตัวร่างกายจากเพศกำเนิด
(ยึดจากอวัยวะเพศ) แบ่งเป็น


Trans man – มีเพศกำเนิดหญิง เปลี่ยนแปลงเนื้อตัวร่างกายไปเป็นชาย

Trans women – มีเพศกำเนิดชาย เปลี่ยนแปลงเนื้อตัวร่างกายไปเป็นหญิง

การเปลี่ยนแปลงเนื้อตัวร่างกายมีได้หลายระดับ ตั้งแต่ รัดหน้าอก ใส่วิก ใส่ซิลิโคนเสริม ไปจนถึงรับฮอร์โมน ศัลยกรรมตกแต่งใบหน้า เสริมหน้าอก หรือผ่าตัดแปลงเพศ ทั้งนี้การจะเปลี่ยนแปลงไปถึงระดับไหน ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของเจ้าตัว สถานะทางเศรษฐกิจ สุขภาพ และปัจจัยอื่นๆ มากมาย และการเปลี่ยนไปถึงขั้นตอนไหน ไม่ได้มีผลกับความเป็น ‘ชาย’ หรือความเป็น ‘หญิง’ ที่มากกว่าหรือน้อยกว่ากันแต่ประการใด การข้ามเพศนั้นขยายพื้นที่ไปถึงการพัฒนาทางด้านจิตใจ การยอมรับและเข้าใจตนเอง

กระบวนการข้ามเพศ จำเป็นมากสำหรับคนที่มีความทุกข์ใจในเพศสภาพ (Gender Dysphoria) ความไม่พอใจที่อัตลักษณ์ทางเพศของตนไม่ตรงกับเพศโดยกำเนิดอาจจะก่อให้เกิดความไม่มั่นใจในตัวเอง ไม่กล้าเข้าสังคม ไม่จนถึงภาวะซึมเศร้าวิตกกังวล

ทั้งนี้ ไม่ควรหาซื้อฮอร์โมนมาใช้เองเพราะอาจนำมาซึ่งความเสี่ยงทางสุขภาพจากการบริโภคฮอร์โมนเกินขนาด

Undetectable = Untransmittable

“ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่” สโลแกนสำคัญจากการประชุมเอดส์โลกที่กรุงปารีส

มีหลักฐานอย่างชัดเจนว่า ผู้ที่มีเชื้อ HIV ถ้าได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสอย่างเหมาะสมถูกต้อง เป็นเวลา 6 เดือน ขึ้นไป และมีปริมาณเชื้อในเลือดน้อยกว่า 40-50 ตัวต่อซีซีของเลือด  จะไม่สามารถแพร่เชื้อให้กับผู้อื่นได้


………………………

ว่าด้วย U = U
ไม่เจอ=ไม่แพร่

สำหรับ  ผู้ติดเชื้อ HIV: เป็นการส่งเสริมให้มีแรงจูงใจสูงในการรักษาต่อเนื่องโดยการกินยาต้านไวรัสและตรวจสุขภาพประจำปี
การรักษาที่มีประสิทธิภาพนำไปสู่ผล “ตรวจไม่เจอเชื้อ” ซึ่งเสริมสร้างคุณภาพชีวิตในหลายด้าน รวมถึงความมั่นใจ การมีครอบครัว สุขภาพจิตที่ดีขึ้น และความกล้าในการเปิดเผยสถานะ HIV กับคู่นอน

สำหรับประชาชนทั่วไป: ส่งเสริมความกล้า ที่จะเดินเข้าไปตรวจหาเชื้อ HIV และเข้าสู่กระบวนการรักษาทันทีหากพบเชื้อ นำไปสู่การรักษาจน “ตรวจไม่เจอเชื้อ” ซึ่งช่วยให้ผู้ติดเชื้อมีชีวิตที่ปกติและมีครอบครัวได้

สำหรับสังคม: เข้าใจเรื่อง U = U (Undetectable = Untransmittable) ในสังคมนำไปสู่การลดการกีดกันและลดความรังเกียจต่อผู้ติดเชื้อ สนับสนุนให้ผู้ติดเชื้อเข้าสู่ระบบการรักษาและทำงานได้ปกติโดยไม่ต้องกังวลว่าจะเป็นอันตรายต่อผู้อื่น.
การรับรู้ว่าผู้ติดเชื้อที่ได้รับการรักษาสามารถมีสุขภาพที่แข็งแรงและไม่เพิ่มภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาสุขภาพไปมากกว่าคนที่ไม่ติดเชื้อ จะช่วยเปลี่ยนมุมมองของสังคมต่อโรค HIV/AIDS ให้เป็นเชิงบวกมากขึ้น.


ที่มา : https://redcross.or.th/
www.thaiaidssociety.org