Arts: ศิลปะ + เพศหญิง + ทวยเทพ และพลังอันไม่จำกัดเพศอย่างไม่สิ้นสุด

ยินดีต้อนรับสู่โรงละครตะวันออกสีแดง แม่คือผู้สร้าง (Timur Merah Project X: Theater in The Land of God and Beast)

มาค่ะ วันนี้ Genderation เราอยากมาแนะนำผลงานศิลปะที่ถูกรังสรรค์ผ่านกรอบเพศ และความเท่าเทียม พร้อมไปทำความรู้จักแนวคิดของศิลปินเจ้าของผลงานกัน

กับอีกหนึ่งผลงานของศิลปินร่วมสมัยไฟแรงที่ร่วมแสดงผลงานในกิจกรรม Chiang Rai Biennale #ThailandBiennale2023 จิตรา ซาสมิตา (Citra Sasmita) ผู้สร้างโลกผูกโยงระหว่างเทพปกรณัม – เพศหญิง – กามาสัน (Kamasan) และเชียงรายเข้าไว้ด้วยกันในผลงานนี้ไว้อย่างน่าสนใจในผลงานตะวันออกสีแดง (The East is Red/Timur Merah Project)

จิตรา ซาสมิตา เกิดที่บาหลี เมื่อปี พ.ศ. 2533 ปัจจุบันพำนักและทำงานอยู่ที่บาหลี เป็นศิลปินร่วมสมัยผู้มีผลงานที่มุ่งคลี่คลายตำนานและความเข้าใจผิดเกี่ยวกับศิลปะและวัฒนธรรมของบาหลี เธอยังตรวจสอบและตั้งคำถามเชิงลึกต่อสถานะและที่ทางของผู้หญิงในลำดับชั้นทางสังคม และพยายามที่จะยกระดับโครงสร้างเชิงบรรทัดฐานแห่งเพศสภาพอีกด้วย

นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 ซาสมิตาได้ทำงานชุดโครงการ Timur Merah สะท้อนถึงภาษาภาพวาดแบบดั้งเดิมของบาหลีบนผ้าใบกามาสัน (Kamasan) ที่เธอพัฒนาขึ้นในการทำงานศิลปะของเธอ โดยแสดงถึงลักษณะทางภูมิศาสตร์ของรูปทรงเพศหญิง งู ไฟ และองค์ประกอบต่างๆ ทางธรรมชาติ ซึ่งประกอบกันขึ้นอย่างน่าประหลาดในการแสดงพลังดึงดูดที่ไม่คำนึงถึงอัตลักษณ์ทางเพศ แม้ว่าจะมีรากฐานมาจากความคิดเชิงตำนานที่มีการอ้างอิงเฉพาะแบบฮินดูและบาหลี ฉากต่าง ๆ ก็เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการร่วมสมัยในการจินตนาการถึงปกรณัมปรัมปราสำหรับอนาคตหลังยุคปิตาธิปไตย

ในผลงานตะวันออกสีแดง (The East is Red/Timur Merah Project) จัดแสดงที่ หอแก้ว ไร่แม่ฟ้าหลวง Mae Fah Luang Art and Cultural Park นี้ เป็นโครงการระยะยาวของเธอที่ตั้งใจสะท้อนผ่านจิตรกรรมดั้งเดิมของบาหลีที่เรียกว่า กามาสัน (Kamasan) มีความสมดุลระหว่างกระบวนการร่วมสมัยในการจินตนาการถึงโลกวิสัย และอีกด้านคือการเติมอำนาจให้กับ “เพศหญิง” ดินแดนปกรณัมสำหรับโลกยุคหลังปิตาธิปไตย ด้วยเรื่องราวของเทพีคาดรู (Kadru) ผู้ให้กำเนิดนาค หรือพญางู 1,000 ตัว ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากตำนานและนิทานจากเชียงแสน เรื่องพญานาค งูในตำนานมาบุกทำลายเมืองโยนก (คริสต์ศตวรรษที่ 13) เช่นเดียวกับบ้านดำและวัดร่องขุ่นที่ดลใจให้เธอเลือกใช้สีแดงในงานศิลปะจัดวางของเธอ เพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนการให้กำเนิดของทวยเทพและการทรงสร้างของพระเจ้า ที่ถูกแทนด้วยสตรีเพศทั้งหมดถูกวาดด้วยสีอะคริลิคลงบนหนังวัว ซึ่งเชื่อมโยงถึง Tridatu สีดำ สีแดง และสีขาวของตรีเอกานุภาพอันศักดิ์สิทธิ์ของชาวบาหลี-ฮินดู

เมื่อเพศชายคือเครื่องหมายของการถูกบูชา เทพีคาดรูจึงเป็นตัวแทนการกำเนิดเพศหญิงและ พลังอันไม่จำกัดเพศอย่างไม่สิ้นสุด 

 

รู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับโพสต์นี้?

Loading spinner

แชร์บทความนี้

Tag

Related Stories

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง