ร่วมกันเสนอกฎหมายรับรองอัตลักษณ์ทางเพศสภาพ คำนำหน้า-เอกสารราชการยึดตามเจตจำนง

กฎหมายไทยในปัจจุบัน ยังรับรองสิทธิ-สถานะของบุคคล โดยยึดจากเพศภายใต้กรอบสองเพศ คือ “ชาย-หญิง” สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นการรับรองสิทธิ-สถานะในกฎหมายต่างๆ เช่น กฎหมายแพ่งเรื่องการสมรส การกำหนดคำนำหน้านาม รวมถึงเอกสารแสดงตนทางราชการที่ระบุได้เพศชายและหญิง

อย่างไรก็ดี เพศของบุคคลซึ่งยึดโยงกับลักษณะเพศทางชีววิทยา ก็ไม่ได้มีเพียงสองแบบเท่านั้น ยังมีบุคคลที่เป็น Intersex ซึ่งกฎหมายยังไม่รับรองสิทธิและสถานะของบุคคลกลุ่มนี้ และนอกจากนี้ อัตลักษณ์ทางเพศสภาพ (Gender Identity) ของบุคคลก็อาจจะไม่ได้สอดคล้องกับเพศเสมอไป เมื่อยังไม่มีกฎหมายที่กำหนดกลไกรับรองสิทธิและสถานะที่ชัดเจน ก็ทำให้บุคคลเหล่านี้ต้องเผชิญปัญหาทั้งการยอมรับของผู้คนในสังคม และการแสดงตัวตนในระบบราชการ

การแก้ไขปัญหาดังกล่าว จำเป็นต้องมีการออกกฎหมายโดยสภา ซึ่งภาคประชาชน ใช้กลไกการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย เพื่อเข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติรับรองอัตลักษณ์ทางเพศสภาพ การแสดงออกทางเพศสภาพ และคุณลักษณะทางเพศ (ร่างพ.ร.บ.รับรองอัตลักษณ์ทางเพศสภาพฯ หรือ GEN-ACT) ต่อสภาผู้แทนราษฎร เปิดให้ลงชื่อแล้ว ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (อายุ 18 ปีขึ้นไป) ร่วมลงชื่อเสนอร่างพ.ร.บ.รับรองอัตลักษณ์ทางเพศสภาพฯ

สาระสำคัญของของร่างพ.ร.บ.รับรองอัตลักษณ์ทางเพศสภาพฯ

  • บุคคลสามารถไป “จดทะเบียนรับรองอัตลักษณ์ทางเพศสภาพ” เพื่อให้เจ้าหน้าที่แก้ไขข้อมูล เพศและชื่อตัวในใบสูติบัตร รวมถึงคำหรือเครื่องหมายที่ระบุเพศสภาพในข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎรเพื่อให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์ทางเพศสภาพตามเจตจำนง คำหรือเครื่องหมายที่ระบุเพศสภาพในเอกสารแสดงตน เช่น บัตรประชาชน ก็จะสอดคล้องกับอัตลักษณ์ทางเพศ
  • เมื่อไปจดทะเบียนรับรองอัตลักษณ์ทางเพศสภาพแล้ว มีสิทธิใช้คำนำหน้านามที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ทางเพศสภาพ มีสิทธิและหน้าที่ตามอัตลักษณ์ทางเพศสภาพนั้น
  • ไม่มีการนำกระบวนการผ่าตัดแปลงเพศ การใช้ฮอร์โมน ฯลฯ มาเป็นเงื่อนไขสำหรับบุคคลเพื่อรับรองอัตลักษณ์ทางเพศสภาพ
  • เด็กที่เป็น Intersex ให้ระบุเพศในสูติบัตรว่าเป็นบุคคลที่มีลักษณะทางชีววิทยาที่หลากหลาย และระบุในเอกสารราชการหรือบัตรประชาชนว่าเป็นเพศกรณีอื่น (Other/X) เมื่ออายุ 15 ปีแล้ว ก็มีสิทธิยื่นคำขอเพื่อระบุเพศและชื่อตัวในใบสูติบัตร รวมถึงเครื่องหมายระบุเพศสภาพในข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎรเพื่อให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์ทางเพศสภาพ

ขอเชิญทุกท่านมาร่วมกันเสนอกฎหมายรับรองอัตลักษณ์ทางเพศสภาพ คำนำหน้า-เอกสารราชการยึดตามเจตจำนง ได้ที่ https://www.gen-act.org

อ่านทั้งหมดได้ที่ iLaw

 

รู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับโพสต์นี้?

Loading spinner

แชร์บทความนี้

Tag

Related Stories

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง