วันขึ้นรถไฟไม่ใส่กางเกง: การปฏิรูปความคิดเรื่องเพศผ่านการแสดงออกทางวัฒนธรรม

ในโลกที่เต็มไปด้วยมาตรฐานและกฎเกณฑ์ มีเหตุการณ์หนึ่งที่ท้าทายความเคร่งครัดที่ว่านั้นได้อย่างสนุกสนาน สิ่งนั้นคือ ‘วันขึ้นรถไฟไม่ใส่กางเกง’ ที่พึ่งกลับมาเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมานี้ (07/1/2024) หลังจากหยุดไป 2 ปีด้วยสถานการณ์โควิด

‘วันขึ้นรถไฟไม่ใส่กางเกง’ เริ่มต้นในปี 2002 โดยกลุ่มอิมโพรฟ เอฟเวอรี่วัน (Improv Everywhere) ในนิวยอร์ก วันนี้เป็นวันที่กลุ่มคนทั่วโลกจะทิ้งกางเกงไว้ที่บ้าน แล้วเดินทางด้วยรถไฟใต้ดิน แรกเริ่มมันเป็นเพียงแค่การแสดงออกทางศิลปะ บางส่วนเป็นการล้อเลียน แต่ต่อมาก็กลายเป็นการเคลื่อนไหวทางสังคม

การท้าทายมาตรฐานเรื่องเพศผ่านการไม่ใส่กางเกงสร้างคำถามและเปิดประเด็นในหลายมิติ สิ่งนี้สะท้อนถึงความต้องการ ว่าสังคมอยากพูดถึงและแสดงออกในเรื่องเพศอย่างเปิดกว้าง

ท่าทีของสังคมต่อเหตุการณ์นี้ก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจ จากที่เมื่อก่อนหลายคนพูดว่ามันผิดขนบธรรมเนียมมารยาท ถึงตอนนี้มันหมายถึงการแสดงออกแห่งอิสระ

ในวัฒนธรรมไทยที่ต้องยอมรับว่ามีความเคร่งครัดในหลายด้าน แนวคิดนี้อาจเป็นการท้าทาย แต่ก็สามารถเป็นจุดเริ่มต้นของการสนทนาที่สำคัญเกี่ยวกับเพศและการแสดงออก

‘วันขึ้นรถไฟไม่ใส่กางเกง’ เป็นมากกว่าเพียงวันสนุกสนาน มันเป็นแพลตฟอร์มสำหรับการสนทนาเรื่องเพศและพื้นที่แสดงออกทางวัฒนธรรมที่สำคัญ มันว่าด้วยการเป็นตัวของตัวเองและการยอมรับความแตกต่างหลากหลาย จากจุดตั้งต้นในปี 2002 ที่มีผู้เข้าร่วมเพียง 7 คน ถึงตอนนี้กิจกรรมนี้กลายเป็นกึ่งๆ เทศกาล ที่ผู้คนสนใจ มีการนัดกันทำสิ่งนี้ กระจายไปตามหัวเมืองต่างๆ ทั่วโลกกว่า 44 เมือง แต่แน่นอนว่ายังไม่มีที่ประเทศไทย

คุณว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ถ้า 7 มกราคม ปีหน้าที่ไทยเรามีคนเข้าร่วมกิจกรรมนี้?

 

รู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับโพสต์นี้?

Loading spinner

แชร์บทความนี้

Tag

Related Stories

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง