Tag

Art

Arts: moodytangerine กับนิยามของเพศหญิง ศิลปะ และความช่างแXร่ง กับ Beauty Standard

ในโอกาสเดือนมีนาคม เดือนแห่ง Women’s History Month วันนี้ Genderation เราจะพาไปทำความรู้จักกับศิลปิน นักวาดหญิงท่านหนึ่ง เจ้าของผลงานภาพปกหนังสือวรรณกรรม เรื่องสั้น ของสำนักพิมพ์ที่ยืนหนึ่งด้านความสัมพันธ์ P.S. Publishing ที่เหล่านักอ่านน่าจะคุ้นเคยผลงานของเธอ หรือผ่านตามาบ้าง เอาเป็นว่าเราไปทำความรู้จักศิลปิน และ บรรณาธิการคนนี้ผู้อยู่เบื้องหลังดูแลผลงานของพีเอส มาแล้วหลายเล่มพร้อมกันในโพสต์นี้กันเถอะ

‘EROEDU’ เครื่องมือสอนเพศศึกษาในรูปแบบของชิ้นงานศิลปะ 

เมื่อการศึกษาเรื่องเพศยังคงเป็นหัวข้อที่ถูกปิดกั้น
สาเหตุหนึ่งของสถานการณ์นี้คือการขาดแคลนสื่อการเรียนรู้ที่จะกระตุ้นให้เด็กๆ ได้ตระหนักรู้ถึงร่างกายของตนเองมากขึ้น และไม่ตีตรากระบวนการพื้นฐานที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย ผลงานนี้จึงถูกคิดค้นขึ้น โดยดีไซนเนอร์ชาวโปแลนด์นามว่า “Domka Spytek”

Arts: ชวนชมภาพประกอบจากในลิสต์ภาพยนตร์ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล “ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม” ของงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ปี 2024

เป็นผลงานการสร้างสรรค์โดย “Rodolfo Jofre” ดีไซน์เนอร์, ศิลปินภาพประกอบประเทศชิลี มีเรื่องไหนบ้างมาดูกันค่ะ

Arts: สีสันลายเส้นโลกตะวันออก กับความเยอะแบบ Maximalism และสวย!: คุณยูน-ปัณพัท เตชเมธากุล (Phannapast)

ถ้านึกถึงผลงานศิลปะการออกแบบที่มีกลิ่นอายสุนทรียภาพ มีความ Oriental โลกตะวันออก (ไทย-จีน) ได้อย่างโดดเด่นน่าสนใจ เป็นไปไม่ได้ที่จะไม่นึกถึงศิลปินคนนี้ “คุณยูน- ปัณพัท เตชเมธากุล” (Phannapast) ศิลปินร่วมสมัยและนักวาดภาพประกอบที่ดูจากผลงานในตอนนี้เหมือนเธอวาดภาพทุกวันและดูเหมือนทำงานด้วยความชื่นชอบหลงไหลอย่างไม่มีวันหยุด

Arts: “Gary Tsang” ผลงานออกแบบภาพประกอบที่เผยความสัมพันธ์แบบ LGBTQ+ ที่ไม่ต่างจากคู่รักต่างเพศใน ‘Illustration Collection: Roommate’

ผลงานการออกแบบภาพกราฟฟิกต่อไปนี้
สร้างสรรค์โดยศิลปิน / ดีไซน์เนอร์ / อาร์ทไดเร็คเตอร์ชาวจีน “Gary Tsang” ซึ่งเขาได้อธิบายว่า “ROOMMATE” เป็นคำที่นิยมในหมู่คู่รักแบบชายรักชายในประเทศจีน โดยปกติจะใช้เมื่อพวกเขาต้องการแบ่งปันช่วงเวลาใกล้ชิดกัน ให้เหมือนกับในโซเชียลมีเดีย เนื่องจากยังบางพื้นที่ยังคงมีเงื่อนไขบางประการที่ความสัมพันธ์นอกเหนือกรอบไบนารี่ (ชาย-หญิง) ส่วนใหญ่ไม่สามารถเปิดเผยความสัมพันธ์ต่อสาธารณะได้นัก

Arts: Small Elegant Butterflies ว่าด้วยผลงานศิลปะที่กล้าสะท้อนแนวคิดที่ว่า “อย่าเหมารวมว่าผู้หญิงจีนเป็นเพียงผีเสื้อตัวน้อยที่ถูกเลี้ยงไว้ในกรอบกรงเอเชียตะวันออก”

แม้ว่าผู้หญิงชาวจีนในยุคปัจจุบัน จะโชคดีที่เป็นอิสระจากเท้าที่ถูกผูกมัดรัดให้เล็กตามค่านิยมแบบโบราณและวัฒนธรรมการอดทนกับครอบครัวสามีที่สามารถมีภรรยาหลายคนเหมือนเช่นยุคสมัยของคุณย่าและยายทวด แต่ผู้หญิงอเมริกันเชื้อสายจีนในปัจจุบันก็ยังคงถูกสืบทอดทัศนคติแบบเหมารวมว่ามีสิทธิด้อยกว่าเพศชายอยู่ รวมไปถึงถูกจัดเป็นเพียง “วัตถุทางเพศ” ที่ใครก็สามารถครอบครองกันได้เหมือนผีเสื้อตัวน้อยที่เติบโตมาอย่างสง่างามในกรอบที่เพศชายสร้างขึ้นเพื่อความบันเทิงเท่านั้น!

Arts: พาไปรู้จักกับผู้ออกแบบอากรแสตมป์ สำหรับชุมชน LGBTQ+ ในอินเดียนามว่า “Ranit Banerjea” (รณิต บาเนอร์เจีย) เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างการยอมรับ และเคารพซึ่งกันและกัน

แม้ว่าชุมชน LGBTQ+ (Lesbian, Gay, Bisexual, Transgender, Queer, และอื่น ๆ) ในอินเดียปัจจุบันเริ่มได้รับความสนับสนุนและการยอมรับในบางส่วนของสังคม แต่ก็ยังมีความท้าทายและปัญหาทางสังคมที่พวกเขาต้องเผชิญรับอยู่

Arts: ในวันที่บทบาทหาเลี้ยงครอบครัวไม่จำกัดด้วยเรื่องเพศ “งานบ้าน เลี้ยงลูก ผู้ชายทำได้ แต่ทำไมส่วนใหญ่ถึงเลือกที่จะไม่ทำ” การสะท้อนมุมมองเรื่องความเท่าเทียมอย่างตรงไปตรงมาผ่านงานศิลปะ และงานหัตถกรรมอันปราณีต กับ Tayeba Begum Lipi (ตาเตยาบา เบกัม ลิปี) ในไทยแลนด์ เบียนนาเล่

วันนี้ Genderation เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับศิลปินหญิงชาวบังคลาเทศที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติชื่อว่า Tayeba Begum Lipi (ตาเตยาบา เบกัม ลิปี) จากพื้นภูมิหลังการเป็นแม่บ้าน ทำงานบ้าน ทำกับข้าวดูแลครอบครัว เลี้ยงลูกอยู่กับบ้าน ประกอบกับความเชี่ยวชาญในการปักผ้าเป็นทุนเดิม สู่การสร้างสรรค์การปักผ้าขาวบางที่มีความละเอียดละออ และมีความยากลำบากในการทำ สื่อถึงเรื่องปิตาธิปไตย รวมถึงสิทธิความเท่าเทียมที่ยังห่างไกลจากประเทศ ชุมชนที่เธอร่วมอาศัยอยู่ เธอจึงมีความต้องการทำงานศิลปะ การปักผ้าขาวบางในรูปของดอกไม้ อวัยวะภายใน ได้แก่ หัวใจ,สมอง,ปอด และ รังไข่ ออกมาเป็นเชิงสัญลักษณ์เพื่อเรียกร้องสิทธิของสตรี ประกอบความต้องการอยากให้ทุกคนมองคนอย่างเท่าเทียมกัน โดยปราศจากการตัดสินจากเรื่อง “เพศ” แม้กระทั่งผู้ชายในสังคม จะไม่มีอำนาจได้หากไม่มีการเกื้อหนุน สนับสนุนการดูแลจากสตรี เป็นการทำงานสะท้อนสภาพจิตใจ ความคิดคำนึง
และบทวิพากษ์ในช่วงที่โลกปิดพรมแดนระหว่างการระบาดของ Covid-19

Arts: ทำความรู้จักกับนักวาดการ์ตูนยูริตาหวาน ส่วนประกอบที่ลงตัวของรูปหัวใจ ลายไฟ และสีชมพู เธอคือ “SILIN” 

ในเริ่มแรกเดิมทีต้องยอมรับว่าจากการมีโอกาสชื่นชมผลงานศิลปิน / นักวาดคนรุ่นใหม่ที่หลากหลาย เราสะดุดตากับผลงานภาพวาดคาแร็คเตอร์ของเด็กผู้หญิงแนวแซ่บซ่า ด้วยสีสันชมพูสะท้อนแสงจัดจ้าน พร้อมกับลายเส้นแนวสตรีทอาร์ท เป็นสน่ห์ที่ผสมผสานระหว่างความเป็นผู้หญิงไว้กับความเท่ อย่างลงตัว ที่น่าสนใจไปกว่านั้นยังเป็นผลงานของผู้หญิงที่เจ้าตัวชื่นชอบการวาดผู้หญิง และมีความชื่นชอบในการ์ตูนแนว Girl Love (GL) อีกด้วย – ไม่พูดพร่ำทำเพลงเราไปทำความรู้จักเจ้าของผลงานพร้อม ๆ กันเถอะ